วันพฤหัสบดีที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555

Framework Management Tool Box ด้าน Planning

 Strategic Planning


ความเป็นมาของการวางแผนกลยุทธ์
    การวางแผนเชิงกลยุทธ์นั้น เป็นเครื่องมือทางด้านการวางแผน (Planning) ในการบริหารองค์กรที่กำลังอยู่ในสภาวะการแข่งขัน หลายท่านอาจสงสัยว่าเหตุใด ในสถานการณ์เดียวกัน บางองค์กรสามารถที่จะสร้างผลกำ มีการทำานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถบรรลุเป้าหมาย ที่ตั้งเอาไว้ได้ มีผลประกอบการที่ดีเยี่ยม และในสภาวะที่มีความไม่แน่นอนสูงทั้งทางด้าน การเมืองเศรษฐกิจ หรือ สังคม ที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ก็ยังสามารถรับมือได้อย่างดี ในขณะที่ บางองค์กรไม่สามารถทำช่นเดียวกันได้ กลับต้องล้มตัวปิดกิจการลงเมื่อเจอปัญหาเหล่านี้ในแต่ละองค์กรย่อมต้องมีการเตรียมการวางแผนเชิงกลยุทธ์เพื่อให้ได้เปรียบคู่แข่งขันเป้าหมายของบทความนี้มีความต้องการที่จะนำสนอการวิเคราะห์ กระบวนการ และ ปัจจัยต่างๆที่มีผลกระทบต่อการวางแผนกลยุทธ์ แต่ละองค์กรนั้นจำเป็นที่จะต้องเลือกกลยุทธ์ และ แนวทางในการวางแผนที่ถูกต้อง และเลือกแผนที่ถูกต้องนั้นในการรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งบทความนี้ จะได้นำจจัยและความคิดสร้างสรรค์ต่างๆ ในการนำปคิดค้นการวางแผนกลยุทธ์ภายในองค์กร โดยการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของด้วยการ วิเคราะห์ การมีความยืดหยุ่นของแผนงาน การวางแผน และ ประสิทธิภาพขององค์กร (Almani and Ghanbarinejad, 2011)

 
การวางแผนกลยุทธ์ คืออะไร
    การวางแผนกลยุทธ์นั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดทิศทางในการดำเนินงานขององค์กรในระยะยาวโดยเป็นแผนงานที่ได้รับการสร้างขึ้นเพื่อตอบสนองแนวคิดและนโยบายของผู้บริหารองค์กรการวางแผนกลยุทธ์ควรเป็นแผนที่มีความยืดหยุ่นและสามารถนำไปปฎิบัติได้จริงและประเมิณผลได้เพื่อสามารถนำปปรับปรุงแผนงานให้ดีขึ้นได้ในอนาคตความคิด ความรู้สึก ความคิดสร้างสรรค์ และความต้องการของผู้ที่กำลังพัฒนาองค์กรจะสะท้อนออกมาให้เห็นได้จากการวางแผนองค์กร เพื่อให้เห็นถึงจุดมุ่งหมาย และเป้าประสงค์ของผู้นำองค์กรเหล่านั้น การพัฒนาการวางแผนกลยุทธ์นั้นควรจะได้รับการตรวจสอบ สนทนาและวัดผลจากผู้นำองค์กรที่รับผิดชอบการเตรียมแผนงานนั้นๆ (Pfeiffer, 1984)
 
องค์ประกอบของการวางแผนกลยุทธ์
    แนวคิดของHarrisและOgbonnaได้แสดงถึงองค์ประกอบที่เป็นตัวแปรที่สำคัญของการวางแผนกลยุทธ์ให้ประสบผลสำเร็จ ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบที่สำคัญ คือ
1. องค์ประกอบทางด้านการบริหารจัดการ (Management Characteristic)
2. องค์ประกอบด้าน ความคิดสร้างสรรค์ขององค์กร (Firm Dynamics)
3. องค์ประกอบด้านสภาวะแวดล้อมที่มีผลต่อองค์กร (Environmental Factors)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น